วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

,


          ปลาฉลามครุย เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างประหลาดมากคล้ายปลาไหล อาศัยอยู่ในน้ำลึก 1,968 - 3,280 ฟุต เดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มีรายงานพบในหลายพื้นที่ รวมถึงในเขตน่านน้ำของญี่ปุ่น ทำให้ปลาฉลามครุยกลายเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" อีกชนิดหนึ่งของโลก เพราะเชื่อว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเลยมาตั้งแต่ยุคครีเทเชียส จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บริเวณส่วนหัว ลักษณะฟันและปาก ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ปลาฉลามชนิดนี้ได้สร้างความฮือฮากลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั้งโลก เมื่อชาวประมงชาวญี่ปุ่นสามารถจับตัวอย่างที่ยังมีชีวิตได้ตัวหนึ่งในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมา ในเมืองชิซุโอะกะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว ซึ่งเชื่อว่าปลาตัวนี้ลอยขึ้นมาเพราะร่างกายอ่อนแอเนื่องจากความร้อนที่ขึ้นสูงของอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็ตายไป เชื่อว่าปลาฉลามชนิดนี้ กระจายพันธุ์อยู่ในเขตน้ำลึกใกล้นอร์เวย์, แอฟริกาใต้, นิวซีแลนด์, ชิลี และญี่ปุ่น มีรูปร่างเรียวยาวคลายปลาไหลหรืองูทะเล มีผิวสีน้ำตาลหรือเทาเข้ม มีซี่กรองเหงือก 6 คู่ สีแดงสด และฟูกางออกเหมือนซาลาแมนเดอร์บางชนิด ทำให้ดูแลเหมือนครุย ซึ่งมีไว้สำหรับดูดซับออกซิเจนโดยเฉพาะ เนื่องจากในทะเลลึกมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าด้านบนถึงกว่าครึ่ง ปากกว้างเลยตำแหน่งของตา ภายในปากมีฟันที่แตกเป็นดอกแหลม ๆ 3 แฉก ทำให้สันนิษฐานว่าเป็นปลาที่ล่าปลาเล็กเป็นอาหารที่เก่งฉกาจชนิดหนึ่ง ความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6.5 ฟุต



ข้อมูลและรูปภาพ : google, wikipedia 
ที่มา : lokmedee

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

,


       ปลาบร็อบสามารถพบเจอได้ในก้นทะเลซึ่งมีความกดอากาศมากกว่าระดับทะเลทั่วไป ถึง 12 เท่า โดยปกติแล้วความกดอากาศมากขนาดนี้จะทำให้ประสิทธิภาพของกระเพาะปลาลดต่ำลง แต่ปลาบร็อบมีหนังเป็นแพวุ้นหุ้มหนาแน่นยิ่งกว่าท้องน้ำ จึงลอยตัวอยู่เหนือพื้นทะเลได้โดยไม่หมดกำลัง ใช้พลังงานน้อยที่สุด จึงทำให้ปลาบร็อบไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อ และข้อดีอย่างแรกก็คือมันสามารถทิ้งตัวลงมาจับเหยื่อจากด้านบนจึงเป็นการดีกว่าจะเข้าจู่โจมจากด้านหน้า เพราะอาจจะได้รับอันตรายจากการที่เหยื่อต่อสู้ได้ ปลาบร็อบอาศัยในน้ำลึกนอกชายฝั่งออสเตรเลียแผ่นดินใหญ่และในแทสแมเนีย



ข้อมูลและรูปภาพ : google, wikipedia 
ที่มา : lokmedee

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

,



              หมีน้ำ เป็นสัตว์ขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเพียง 1.5 มิลลิเมตร ส่วนตัวที่เล็กที่สุดมีขนาดเพียง 0.1 มิลลิเมตร มันมีมากกว่า 1000 สายพันธุ์ โดยมากเป็นพวกกินพืช ส่วนน้อยกินแบคทีเรีย และกินสัตว์ สามารถพบได้ทั่วโลก ตั้งแต่ที่ยอดเขาหิมาลัยที่ความสูงกว่า 6,000 เมตร จนถึงในทะเลลึกถึง 4,000 เมตร ไม่ว่าจะเป็นที่ขั้วโลกหรือในบริเวณเส้นศูนย์สูตร มันอยู่ได้ในที่ที่มีแรงดันสูงถึง 6,000 atm ซึ่งแรงดันปกติที่มนุษย์อยู่ทุกวันนี้คือแรงดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1 atm เท่านั้น หมีน้ำได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ทรหดที่สุดในโลก มันสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -272.8°C (ได้ประมาณ 1 นาที ) และที่ -200°C ( อยู่ได้ประมาณ 1 วัน ) สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 151 °C ทนรังสีได้มากกว่ามนุษย์ถึง 1,000 เท่า



ข้อมูลและรูปภาพ : google, wikipedia 
ที่มา : lokmedee